Genius? I don’t think so. We just Work Harder! คำพูดนี้เป็นคำพูดที่ผมอ่านเจอแล้ว โคตรกระแทกใจผมเลยครับ เป็นคำพูดของนักออกแบบชื่อดังก้องโลก Eeams นั่นเอง ผมขึ้นต้นด้วยประโยคนี้เพราะผมอยากให้ทุกคนที่กำลังเรียนอะไรอยู่ก็ตาม ตระหนักครับว่า “ความสำเร็จ ไม่ใช่จะได้มาง่ายๆ”
หลายครั้งที่ผมได้ยินเสียงบ่น เสียงท้อจากคนรอบกาย โดยเฉพาะคนที่สนใจเรียนเรื่องออกแบบเว็บไซต์หรือวิชาด้านโปรแกรมมิ่ง ว่าทำไมมันเยอะอย่างนี้ ใช้แบบสำเร็จรูปได้หรือเปล่า เอาแบบง่ายๆๆๆ จะได้ทำแล้วเสร็จไปเลย คำพูดประมาณนี้ มีทั้งที่ผมได้ยินโดยตรง หรือได้ยินผ่านการเล่าจากบรรดาครูอาจารย์ที่ท่านสอนวิชาพวกนี้อยู่
ก่อนอื่นนั้น เราต้องแยกก่อนครับว่า บรรดาคนที่บ่น คนที่ท้อ คือกลุ่มไหน
ในบรรดาการเรียนอะไรก็แล้วแต่ จะมีประเภทของคนเรียนอยู่สองประเภทครับ คือหนึ่งเรียนเพราะอยากเรียนจริงๆ กับสองเรียนเพียงเพราะจำเป็นต้องเรียน แค่กลุ่มคนสองประเภทนี้ก็ทำให้ความสนใจในการเรียนแตกต่างกันแล้วครับ กลุ่มคนที่เรียนเพียงเพราะจำเป็นต้องเรียน นั้นแน่นอนว่าก็จะเรียนเพียงเพื่อให้จบๆไป ขอแค่ผ่านก็ถือว่าเพอร์เฟ็คแล้ว ส่วนกลุ่มคนที่อยากเรียนจริงๆ กลุ่มนี้จะมีความสนใจในตัวหลักสูตรมาก่อนอยู่แล้ว การที่พวกเค้าบ่น หรือท้อแท้ แสดงว่าต้องมีปัญหาใดๆเกิดขึ้น
ผมจะพูดถึงกลุ่มคนที่อยากเรียนนะครับ ในฐานะที่ผมเองทำงานด้านนี้โดยตรง ผมเองก็เคยผ่านประสบการณ์ที่ผ่านการเรียนแบบลำบากสาหัสมาแล้วครับ บางสายงานมันจำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้หลากหลายเรื่องมาเชื่อมโยงครับ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมเมอร์สำหรับทำเว็บ คุณต้องรู้ทั้งภาษา HTML CSS Javascript MySQL PHP .NET เป็นต้น มันมีอะไรให้คุณเรียนรู้เยอะมาก แถมบางเรื่องก็แตกแขนงแยกย่อยไปอีก เช่น HTML5 หรือ CSS3 เป็นต้น
ต้องเข้าใจว่าวิชาสายไอทีคือวิชาที่หยุดนิ่งไม่ได้ เพราะเราต้องก้าวไปให้ทันโลกครับ ดังนั้นมันจึงมีอะไรให้คุณได้อัพเดทความรู้อยู่ตลอดเวลา ผมเองก็เข้าใจน้องๆที่กำลังเข้ามายังสายอาชีพนี้นะครับ เพราะว่ามันก็มีอะไรให้เรียนรู้เยอะจริงๆนั่นแหล่ะ แต่นั่นก็คือข้อดีนะครับ ถ้าคุณศึกษามันเต็มที่ และนำมาใช้งานในชีวิตจริงๆได้ คุณย่อมได้เปรียบคนที่ไม่ได้เรื่องนั้นมากกว่า
[skill]ถามตัวเองครับว่า เราเรียนไปเพื่ออะไร? เรียนเพื่อขอเพียงแค่ผ่านๆ หรืออยากเรียนแล้วมีความรู้ไปใช้ทำงานจริง? ตอบคำถามตัวเองให้ได้ครับ ถ้าแค่ผ่านๆก็จบ แต่ถ้าอยากมีความรู้ไปใช้งานจริง คุณต้องสู้ ต้องฝ่าฝันมันไปให้ได้[/skill]
“รู้มากกว่า ทำได้มากกว่า ย่อมได้เปรียบเป็นทุนชีวิต”
ลองมองถึงอนาคตครับว่า ถ้าหากเราเรียนจบไปแล้ว เราต้องการทำงานในสายอาชีพนี้ เราก็ควรจะมีความรู้ในเรื่องอะไรบ้าง ลองนึกถึงว่าถ้าเรียนจบไปแล้ว แล้วไปสมัครงานเราจะมั่นใจแค่ไหนเวลาเค้าสัมภาษณ์ว่ารู้เรื่องนี้หรือเปล่า ทำได้หรือเปล่า
หากวันนี้คุณท้อ ขอให้คุณอย่าถอยครับ ทุกคนต่างก็มีจุดท้อในบางช่วงของชีวิตทั้งนั้นแหล่ะ แหม่ เราก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนคนเดินดินเหมือนกันเนาะ
ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน
เดี๋ยวนี้มีตัวอย่างบุคคลที่ประสบความสำเร็จให้เห็นเยอะแยะมากมาย และทุกคนต่างก็เคยผ่านการดิ้นรนต่อสู้มาทั้งนั้นแล้วครับ กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้ แต่ละคนก็สะสมประสบการณ์มาไม่น้อย ชีวิตของคนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาครับ เพียงแต่มันอาจจะไม่ใช่การเรียนรู้จากตำราหรือห้องเรียน เราต้องเรียนรู้จากชีวิตจริงด้วย แทบจะพูดได้เลยว่า เราหยุดเรียนรู้จริงๆไม่ได้หรอกครับ
เอาละ ทีนี้สมมติว่าคุณรู้แล้วว่า คุณอยากเรียนเพื่อเป็นทุนชีวิตในการใช้งานในชีวิตจริง ทีนี้มาดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ทำให้คุณท้อแท้คืออะไร? แล้วพอจะมีแนวทางไหนบ้างนะที่ช่วยให้อาการเหล่านี้หายไปได้
ผมจะพูดในแง่คิดส่วนตัวนะครับ เผื่อว่าพอจะมีประโยชน์เอาไปประยุกต์ใช้ได้บ้าง
[thetext]ตอนนี้ที่ท้อเพราะว่าเรียนไม่รู้เรื่องหรือเปล่า?[/thetext]
ข้อนี้เป็นปัญหาหลักๆของบรรดานักเรียนเลยครับ เรียนไปแต่ไม่รู้เรื่อง เอ๊ะ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น? การเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ มันต้องอาศัยปัจจัยหลักอยู่สามสี่อย่างครับ นั่นก็คือ ผู้สอน สื่อที่สอน ผู้เรียน และบรรยากาศในการสอน เราลองวิเคราะห์ดูครับว่ามันเกิดจากอะไร ในชั้นเรียนเดียวกัน มีกี่คนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องเฉพาะเราหรือเปล่า? ถ้ามีเฉพาะเรา นี่ก็ย่อมหมายถึงปัญหาอยู่ที่เรานั่นแหล่ะ เราอาจจะมีพื้นฐานความรู้ไม่พอ เลยไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่ หรือบางทีปัญหาเองก็อยู่ที่สื่อที่สอนก็มีนะครับ เช่นสื่อที่ทำมา ไม่ชัดเจนพอ (ยกตัวอย่างเช่น มีแค่ powerpoint เต็มไปด้วยหัวข้อ ไร้คำอธิบาย) ถ้าเราเจอแบบนี้ เราก็ควรไปหาสื่อจากที่อื่นมาช่วยซัพพอร์ตการเรียนครับ
สมัยนี้โชคดีครับ มีแหล่งเรียนรู้เยอะแยะมากมาย บางทีเราอาจจะเรียนกับครูท่านนี้ไม่รู้เรื่อง ก็ลองศึกษาจากครูท่านอื่นก็ได้ครับ ยิ่งสายไอที เว็บไซต์สอนมีเยอะแยะครับ ลองเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนห้องเรียนดูบ้าง ก็น่าจะช่วยได้ครับ
ตอนผมเป็นนิสิต ผมเรียนวิชาแคลคูลัสครับ วิชานี้ “คืออะไรว่ะ?” แถมภาคคอมต้องเรียนตั้งสามตัวอีกครับ ผมเองก็กังวลกับวิชานี้มากๆ เพราะตอนนั้นสอบแอดมิชชั่น คะแนนคณิตศาสตร์เอเน็ต ก็ไม่ได้สวยหรู ฮ่าๆ ผมซื้อหนังสือของจุฬาฯ มาอ่านครับ วิชาแคลคูลัสนั่นแหล่ะ แม่เจ้า!! เธอเขียนอะไรของเธอ? นี่คือความคิดแรกที่ผมอ่านหนังสือเล่มนั้นครับ ใช้ศัพท์แสงแรงกล้า ต้องแปลไทยให้เป็นไทย (จริงๆหนังสือเล่มนี้อาจจะเหมาะกับคนอื่นก็ได้นะครับ เพียงแต่ผมอ่านแล้วผมไม่เข้าใจเองแหล่ะ ฮ่าๆ) เป็นหนังสือที่เขียนอธิบายได้เทพมากครับ (เทพเท่านั้นถึงจะเข้าใจ) ผมอ่านแล้วมึนตึ๊บครับ แต่โจทย์ในหนังสือเล่มนี้ดีมาก ยากระดับพระกาฬ ผมก็เลยตัดสินใจ “หาหนังสือเล่มอื่นมาอ่าน”
ตอนนั้นผมก็หาหลายเล่มนะครับ ทั้งไทยและเทศ สรุปไปจบลงด้วยการอ่านชีทของต่างประเทศ ด้วยเหตุผลเค้าเขียนง่าย อ่านแล้วทำตามได้ โจทย์ก็ง่ายด้วย!! เลยทำให้มีกำลังใจในการเรียนขึ้นมา ก็ใช้ควบคู่กับการอ่านในชีทต่างประเทศ แต่ทำโจทย์จากหนังสือจุฬาฯ ครับ
ที่ต้องการสื่อก็คือ บางครั้งเราเองก็ต้องดิ้นรนเพิ่มขึ้น หาสิ่งที่ตรงกับพื้นของเราให้ได้ครับ อย่างในกรณีที่ยกตัวอย่าง ไม่ใช่ว่าหนังสือแคลของจุฬาฯ ไม่ดี แต่มันไม่เหมาะกับพื้นความรู้ของผม คือมันเทพไปสำหรับผมครับ ผมก็เลยไปหาที่มันพื้นๆมาอ่านก่อน แล้วค่อยไต่เต้าไปอ่านเล่มนั้นครับ
[thetext]เรียนมาแล้ว ทำไม่ได้[/thetext]
พี่คร้าบ ทำไมพอได้โปรเจ็คมาจริงๆแล้ว ทำไม่ได้เลยอ่ะ! นี่เป็นคำถามที่ผมได้ยินอยู่บ่อยๆ แน่นอนครับว่าการแก้โจทย์ มันต้องใช้ประสบการณ์ครับ พูดง่ายๆแบบนี้แหล่ะ วิธีการก็คือพยายามทำเยอะๆ ฝึกเยอะๆ ลองหาโปรเจ็คใหม่ๆ มาลองพัฒนาฝีมือดูครับ ที่เราทำโปรเจ็คบางตัวไม่ได้ ก็เพราะว่าเรายังขาดทักษะด้านนั้นอยู่ การเรียนเพียงแค่อ่าน มันต่างจากเรียนแล้วปฏิบัตินะครับ อ่านแล้วเข้าใจทฤษฎี แต่ถ้าไม่เคยลงมือทำจริงๆ มันก็ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น สมัยเรียนวิชา Database สมัยเรียนก็มีตารางบ้าบอคอแตก ความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่ง ER-Diagram เยอะแยะมากมาย อ่านทฤษฎีแล้วก็พอเข้าใจ แต่พอมาใช้งานจริง เห้ย ตารางใช้งานไงวะ ไอ้ที่ออกแบบไดอะแกรมซะสวยหรู พอจะเขียนจริง มันเขียนไงเนี่ย การลงมือทำนี่แหล่ะครับ ช่วยได้ ถ้าลงมือแล้วก็ทำไม่ได้อยู่ดี ทำไง? ผมใช้วิธีถามผู้รู้ครับ เราทำเองไม่ได้ ก็ต้องอาศัยคนอื่นที่เก่งกว่า มีความสามารถมากกว่าให้เค้าช่วยเหลือ แล้วเรียนรู้จากเค้านั่นเอง
การเรียนรู้มีทั้งเรียนจากตำรา และการลงมือทำครับ
เอาละครับ ผมนี่ก็ชักจะเมาท์ยาวไปหน่อยเสียแล้ว ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่กำลังท้อถอยเรื่องการเรียนนะครับ ถามอีกครั้ง เรียียนขอเพียงผ่าน หรืออยากมีงานทำ เลือกเอาครับ ^^