บทบาทของ User ใน WordPress

สวัสดีครับ เมื่อไม่นานมานี้ WordPress ก็ทำการอัพเดทเวอร์ชั่นเป็นเวอร์ชั่นใหม่คือ 3.8 นะครับ มาพร้อมกับรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมดเลย ผมว่าทำออกมาได้สวยดีครับ แนว Flat ฮ่าๆ

เมื่อผมทำเว็บเสร็จและเทรนลูกค้า คำถามที่ถามกันบ่อยมาก คือ User Role ใน WordPress มันคืออะไร แล้วแต่ละตัวมันทำงานกันอย่างไร วันนี้ผมเลยคิดว่าจะดีกว่าถ้านำมาเขียนลงในเว็บบล็อกด้วย เผื่อคนอื่นๆที่มีข้อสงสัยอย่างเดียวกัน จะได้เข้ามาอ่านครับ

user

WordPress นั้นเป็นระบบทำเว็บที่สุดยอดมาก มีระบบจัดการสมาชิกที่ดีเยี่ยมเลยครับ คุณสามารถทำเว็บที่ให้คนมาสมัครสมาชิกเว็บก็ได้ แถมยังสามารถระบุกลุ่มของสมาชิกแต่ละคนได้ด้วยว่าจะให้ทำอะไรในเว็บของเราได้บ้าง ความสามารถที่ทำกับเว็บของเรานี่แหล่ะครับ เราเรียนกว่า บทบาท หรือ User Role  ซึ่งจะมีหลักๆได้แก่

  • Subscriber
  • Contributor
  • Author
  • Editor
  • Administrator

โดยบทบาทด้านบนนั้น ผมเรียงจากความสามารถตำ่สุดไปยังสูงสุดนะครับ ทีนี้มาดูแบบละเอียดกัน

[thetext]Subscriber[/thetext]

สมาชิกกลุ่มนี้จะเป็นสมาชิกทั่วไปครับ มีสิทธิ์แค่ อ่านและคอมเมนต์ในเว็บของเราได้เท่านั้น

[thetext]Contributor[/thetext]

สมาชิกกลุ่มนี้จะเป็นสมาชิกที่สามารถเขียนบทความลงเว็บของเราได้ครับ แต่ว่าไม่สามารถเผยแพร่บทความนั้นได้ ต้องรอให้ผู้ที่มีบทบาทสูงกว่ามาตรวจครับ และการเขียนบทความก็จะทำได้แค่เขียนเนื้อหา ไม่สามารถแทรกภาพ แทรกวีดีโอได้ครับ

[thetext]Author[/thetext]

กลุ่มนี้จะเป็นสมาชิกที่เรียกว่า “นักเขียน” ครับ สามารถเขียนบทความได้ โดยแทรกรูป แทรกวีดีโออะไรก็ได้ ใช้ฟังก์ชั่นการเขียนบทความได้ครบทุกตัว เขียนเสร็จแล้ว ก็สามารถเผยแพร่บทความของตัวเองได้ แก้ไขบทความของตัวเองได้ แก้ไขคอมเมนต์ที่มาเมนต์ในบทความของตัวเองได้ แต่ไม่สามารถไปยุ่งกับบทความที่เป็นของคนอื่นเขียนได้ครับ

[thetext]Editor[/thetext]

ต่อมาจะเป็นสมาชิกที่เรียกว่า “ผู้ตรวจทาน” ครับ หรือเป็น บ.ก. อะไรทำนองนี้แหล่ะครับ กลุ่มนี้สามารถที่จะเขียนบทความก็ได้ และยังสามารถไปแก้ไขงานคนอื่นได้ด้วยครับ แก้ไขคอมเมนต์ในบทความคนอื่นก็ได้ และเป็นคนที่คอยตรวจสอบบทความของ Contributor ว่าบทความนั้นเหมาะสมที่จะเผยแพร่ในหน้าเว็บหรือไม่ ถ้าเห็นว่าสมควร ก็จะเป็นคนอนุมัติบทความนั้น พูดง่ายๆก็คือสามารถที่จะจัดการได้ทั้งบทความของตัวเองและของคนอื่นครับ

แต่ Editor ก็มีความสามารถเต็มที่แค่เกี่ยวกับการเพิ่มเนื้อหานะครับ การมาจัดการระบบหลังบ้าน ลงธีมใหม่ ปลักอินใหม่ อันนี้ทำไม่ได้

[thetext]Administrator[/thetext]

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแอดมินเว็บไซต์ มีความสามารถทุกสิ่งอย่างครับ เปลี่ยนธีม เพิ่มปลักอิน แก้ไข เขียนใหม่ ลบทิ้ง ของชาวบ้าน ของตัวเอง ทำได้หมดครับ สามารถเพิ่มสมาชิกใหม่ในระบบได้ด้วย

และนี่แหล่ะครับ คือบทบาทหลักๆของระบบเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย  WordPress ลองเอาไปประยุกต์ใช้งานกันดูนะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก