แหม ผมว่าผมเก็บพวกเรื่อง Operator หมดไปแล้วนะเนี่ย เพิ่งมาคิดได้ว่า เอน่าจะนำเสนอตัวนี้ด้วยครับ Conditional Operator หรือเรียกอีกอย่างว่า Ternary Operator ครับ ตัวนี้ผมอยากจะเปรียบเทียบกับ if esle ที่พูดถึงในตอนที่ 7 นะครับ มาดูเนาะ
ตัวอย่างโค้ด
var temp =18, // degree in celsius msg; if(temp>10){ msg="today was warm"; } else { msg="today was cold"; } alert(msg);</pre>
จากโค้ดด้านบน จะเห็นว่าเราพยายามใส่ค่าให้กับตัวแปร msg ใช่ไหมครับ ซึ่งดูเหมือนว่าเรากำลังเขียนโค้ดเยอะเลยทีเดียว ซึ่งเราสามารถจะย่อให้มันสั้นลงได้ครับ ด้วยการใช้ condtional operator นั่นเอง ดูตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
var temp=18, msg = (temp > 10) ? "today was warm" : "today was cole"; alert(msg);</pre>
สั้นลงเยอะเลยใช่ไหมครับ สำหรับวิธีการใช้ก็คือ ให้ใส่เงื่อนไขสำหรับเช็คลงไปก่อน จากนั้น ตามด้วยเครื่องหมาย คำถาม แล้วต่อใส่ค่าที่ต้องการ กรณีที่เงื่อนไขนั้นเป็นจริง ถัดมาคือใส่ต่าที่ต้องการ กรณีที่เงื่อนไขนั้นเป็นเท็จ สำหรับวิธีการนี้เหมาะสำหรับ statement ที่มีโอกาสความเป็นไปได้แค่สองอย่างเท่านั้นครับ เพราะว่าเราสามารถจับมันเขียนให้สั้นๆได้เพียงแค่บรรทัดเดียวนั่นเอง ^^