กลยุทธิ์เรื่องราคา ทำไมเว็บไซต์ราคาเท่านี้

สวัสดีเช้าวันอาทิตย์ครับ วันนี้ผมมาเขียนบทความเรื่องใหม่เพื่อแบ่งปันประสบการณ์อีกเรื่องนะครับ สำหรับบทความนี้จะพูดถึงเรื่อง “ราคาทำเว็บไซต์” ครับ เพราะผมแน่ใจว่าเป็นอีกเรื่องที่บรรดาคนทำเว็บอยู่แล้ว หรือแม้แต่คนที่อยากจะมาทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บไซต์ต่างก็อยากรู้ว่า จะมีวิธีการคิดราคาค่าออกแบบ ค่าพัฒนาอย่างไร และจะอธิบายอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจ

หากเราลองทำการค้นหาคีย์เวิร์ดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บไซต์ผ่านเว็บ google จะเห็นว่ามีหลากหลายเว็บไซต์มากครับที่รับทำเว็บไซต์ ส่วนราคาก็แตกต่างกันมาก มีตั้งแต่ราคาหลักพัน ยันหลักหมื่น บางที่ก็หลักแสน มีมากกว่านั้นอีกก็หลักล้านครับ

ทีนี้คำถามคือ แล้วเว็บไซต์ มันควรจะราคาเท่าไหร่กันแน่?

8463683689_baa33ca431_z

วิธีการคิดเรื่องราคาเว็บไซต์มีวิธีการประเมินงานหลายแบบครับ ถ้าเอาแบบง่ายๆ ก็จะเป็น “แบบเหมา” ครับ คือได้โปรเจ็คหนึ่งมาแล้วก็นั่งคำนวณดูว่าโปรเจ็คระดับนี้จะเหมาทำเท่าไหร่ กับอีกแบบคือ “แบบชั่วโมงทำงาน” สำหรับรูปแบบนี้จะเหมาะกับงานที่รีไควเมนต์ไม่นิ่ง

แต่จริงๆแล้วมันมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะครับ ด้านบนมันแค่หลักการคร่าวๆ เพราะเอาง่ายๆ แค่แบบเหมา แล้วเราจะเหมาเท่าไหร่ดี?

จากประสบการณ์ของผม เมื่อผมได้โปรเจ็คทำเว็บมา ผมจะแบ่งออกก่อนครับว่าเป็นโปรเจ็คที่เป็นของ “รัฐ” หรือของ “เอกชน” สองภาคส่วนนี้มีความแตกต่างกันมากเลยนะครับ อย่างของรัฐบาล คนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมีหลายคนมาก ประชุมยิบย่อยเยอะ และต้องมีเครดิตการจ่ายเงินอย่างน้อย 30 วันครับ นั่นก็คือคุณส่งโปรเจ็คไปแล้ว ต้องรออย่างน้อยหนึ่งเดือน ถึงจะได้ค่าโปรเจ็ค (ผมทำเป็นฟรีแลนซ์ เงินค่าจ้างไม่ได้ถึงหลักล้าน ดังนั้นโปรเจ็คของรัฐบาลส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายรอบเดียวเมื่อส่งมอบงานแล้ว) ดังนั้นก็หมายความว่าระหว่างที่รอรับเงิน เราจะมี “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” ครับ ทำให้ราคาพัฒนาเว็บไซต์ของรัฐบาลผมจะคิดราคาที่สูงขึ้นมาอีกครับ เพราะผมจะบวกค่าเวลาลงไปด้วย

ถัดจากนั้น ผมก็จะดูที่ฟังก์ชั่นการทำงานครับ เว็บที่มีฟังก์ชั่นน้อยก็ราคาหนึ่ง เว็บไซต์ไหนต้องมีการเขียนโค้ดเพิ่มขึ้นอีก ก็คิดราคาบวกเข้าไป หลายคนอาจจะสงสัยว่า บางเว็บก็มีการทำงานเหมือนเว็บที่เคยทำมาแล้ว ทำไมเว็บใหม่ถึงคิดราคาเท่านี้ อาชีพโปรแกรมเมอร์คืออาชีพขายโค้ดด้วยส่วนหนึ่งนะครับ แม้จะเป็นโค้ดที่มีอยู่แล้ว เวลาลูกค้ามาใช้บริการก็คือมาขอซื้อโค้ดตัวนั้นไปใช้นั่นแหล่ะครับ มันคือโปรดักส์ของสายโปรแกรมเมอร์ครับ หวังว่าคงจะเข้าใจนะค้าบ ^^

ทีนี้ต่อมา ก็ดูเรื่อง “ระยะเวลา” ครับว่า โปรเจ็คที่ได้มา “ต้องส่งมอบตอนไหน” บางเว็บเป็นเว็บด้วนด่วน ขอภายในสองอาทิตย์ เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บที่มีความสามารถเท่ากัน แต่อีกตัวใช้เวลาสองเดือน แน่นอนครับว่า ตัวด้วนด่วน ก็ต้องราคาแพงขึ้นมาอีก เพราะว่ามีมิติเวลามาเกี่ยวข้อง อยากได้ด่วนทำให้ได้แต่ก็ต้องบวกค่าด่วนเข้าไปด้วย ^^

นอกจากนี้ เดี๋ยวนี้การทำเว็บไซต์ก็มีตัวแปรเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมเยอะครับ เพียงแค่ไม่กี่ปี สายอาชีพพัฒนาเว็บไซต์ก็ต้องมีอะไรให้ศึกษากันไม่หยุดไม่หย่อนครับ ไล่ตั้งแต่เว็บไซต์เดี๋ยวนี้จะต้องรองรับทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บบลิต และมือถือ  ยังไม่พอครับ ก็ต้องรองรับบราวเซอร์ที่มาตรฐานตามใจตรูทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไออี ไฟฟ็อกซ์ โครม ซาฟารี  … บลาๆ อีก แถมเรื่องภาษาการทำเว็บก็มีออกมาเรือ่ยๆ ให้เราต้องขวนขวายหาความรู้ ทั้งหมดนี้มันก็ต้องใช้เวลาเพิ่ม อย่างเช่นการออกแบบเว็บ อย่างน้อยผมต้องคิดถึงสามเวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่น mobile เวอร์ชั่น tablet และเวอร์ชั่น Desktop เห็นไหมครับ ว่าเว็บเดียว แต่ประหนึ่งทำสามเว็บเลยทีเดียว

เมื่อเราได้โปรเจ็คมาแล้ว วิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ แล้ว ก็มาเริ่มคิดเป็นมูลค่าเป็นตัวเลขกันครับ

โดยส่วนตัวผมจะประเมินงานเป็นชั่วโมงทำงานก่อนครับ จากนั้นก็จะคำนวณว่าระยะเวลาเท่านี้คูณด้วยค่าตัวต่อชั่วโมง ก็จะได้ค่าทำเว็บนั้นออกมาเสนอลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ผมคิดค่าบริการชั่วโมงทำงาน ชั่วโมงละ 800 บาท ถ้าโปรเจ็คนั้นต้องใช้เวลาในการพัฒนา 50 ชั่วโมง ก็จะได้ 800*50 = 40000 บาทครับ ทีนี้ก็มาดูอีกว่า เป็นโปรเจ็คภาครัฐหรือเปล่า ถ้าใช่ผมก็จะบวกค่าต้นทุนเรื่องเวลาไปด้วยก็จะได้ราคาที่สูงกว่า 40000 บาทขึ้นมาหน่อยครับ

โดยส่วนตัว เวลารับงานนะครับ ผมอยากให้ทุกคนลองคิดค่าตัวเป็นชั่วโมงทำงานดูครับ แล้วคำนวณออกมาเป็นค่าโปรเจ็ค น่าจะเวิร์คกว่า เพราะมีหลายท่านที่เห็นรับทำเว็บราคาย่อมเยา เช่น 3,000 บาท ทั้งออกแบบทั้งดีไซน์ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าสามพันบาทนี้คุ้มทุนหรือเปล่า เพราะปกติแค่ออกแบบก็ใช้เวลาเยอะแล้วนะครับ ผมเคยเจอคนที่รับงานมาสองหมื่นบาท แต่ใช้เวลาทำสี่เดือน หารแล้วได้รายได้เดือนละห้าพันบาทเองครับ ผมว่าเดือนละห้าพันนี่อยู่ยากนะครับ T.T ต่ำกว่ารายได้ขั้นต่ำอีก

size

เมื่อมีหลักการคิดราคาที่ชัดเจน แล้วเราจะสามารถอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างภาคภูมิ

จริงๆนะครับ ลูกค้าทุกท่านต่างก็อยากรู้ทั้งนั้นแหล่ะครับว่า ราคาที่เราเสนอไปเนี่ย ทำไมถึงคิดราคานี้ มีเกณฑ์อย่างไร อธิบายให้พวกเค้าเข้าใจ ว่าวิชาชีพของเรามีกลยุทธิ์การคิดราคาอย่างไร เท่าที่ผมทำงานมาเกือบทุกท่านก็รับได้กับราคาที่ผมเสนอไปนะครับ เพราะว่ามีที่มีที่ไปแน่นอน

ราคาถูกลงไม่ได้ดีเสมอไป

อันนี้พูดในแง่ที่ประสบพบเจอมานะครับ ราคาถูกเป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะทุกคนต่างก็อยากได้ของราคาย่อมเยา แต่การคิดราคาถูกโดยไม่มีเหตุผล ขอแค่ถูกกว่าเจ้าอื่น เพราะคิดว่าไม่ได้ลงทุนอะไร แบบนี้มันจะทำให้โมเด็ลราคาของการทำเว็บแปรปรวนไปมากขึ้น ทีนี้คนก็จะรู้แต่ว่าเว็บไซต์ราคาอยู่ที่ราคาถูกประมาณนี้ ในอนาคตอาชีพนี้ก็จะอยู่ยากครับ

แต่ผมก็ไม่ได้หมายถึงให้คิดราคาแพงนะครับ ผมหมายถึงให้คิด “แบบมีเหตุผล มีที่มาที่ไป” มากกว่าครับ

หลายคนอาจจะกังวลอยู่ว่า ถ้าคิดราคาแบบนี้ กลัวจะไม่มีลูกค้า

ผมว่าถ้าเราเจ๋งจริง ยังไงก็มีครับ ยิ่งคนที่เป็นนักออกแบบนะครับ งานของคุณมันคืออัตลักษ์ของตัวเอง เห็นปุ๊บรู้ปั้บว่าต้องคนนี้ทำแน่นอน แบบนี้ค่าตัวคุณยิ่งมีมูลค่าครับ เจ๋งจริง ไม่ต้องกลัว คนทุกคนอยากร่วมงานกับคนเจ๋งๆอยู่แล้ว เว็บหลายเว็บเริ่มต้นทำด้วยการทำง่ายๆ ไมไ่ด้ใช้นักออกแบบจริงๆมาทำให้ ส่วนใหญ่แล้วก็ต้องรีดีไซน์หมดครับ เพราะเว็บคู่ค้าดูดีกว่า คุลกว่า ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้วหล่ะครับว่า จะทำอย่างไรให้ “เจ๋ง” ให้คนอยากร่วมงานครับ แล้วทำอย่างไรให้เจ๋ง ก็ต้องพัฒนาฝีมือ ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อย่าหยุดเรียนรู้ครับ มามะ มาร่วมก้าวไปสู่ความเจ๋งด้วยกันคร้าบ ^^

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก