ว่ากันว่า…เรื่องราววัยเด็กที่เราถูกหลอกมาโดยตลอดนั่นก็คือ… “ภาษีที่เราจ่าย จะถูกนำไปใช้ในการบริหารประเทศ” ฮ่าๆ ผมอ่านเจอเรื่องนี้แล้วฮาก้ากเลย ทำให้ผมอยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับภาษี ครับ แม้ว่าในความเป็นจริงภาษีที่เราจ่ายไปจะถูกนำไปใช้แบบไหน อันนี้เราก็มิสามารถรู้ได้ แต่หน้าที่หลักของพลเมืองชาวไทย ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ก็จำเป็นต้องเสียภาษีอยู่แล้ว
ภาษีที่ผมจะพูดถึงวันนี้ เอาเรื่องใกล้ตัวที่สุดก่อนสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์ นั่นก็คือ การเสียภาษีแบบ “หัก ณ ที่จ่าย” ครับผม
โดยส่วนใหญ่ เมื่อเราทำใบเสนอราคา เวลาเราทำราคาไปแล้ว ส่วนมากทางผู้ว่าจ้างจะทำการ “หัก” เงินส่วนหนึ่งไว้ เพื่อนำไปจ่ายภาษีแทนเราครับ หลายๆคนก็เลยจะไม่ได้ “เงินเต็มจำนวน” แบบที่ต้องการ
เช่น เสนอราคาไปสี่หมื่นบาท ถ้ามีการหัก ณ ที่จ่าย เราก็จะได้สามหมื่นกว่านะครับ ไม่ใช่ได้สี่หมื่นแบบที่หวังไว้
ดังนั้น ถ้าหากว่าเราต้องการเงินค่าจ้างสี่หมื่นแบบเต็มจำนวน ในใบเสนอราคา เราก็ต้องบวกภาษีเข้าไปด้วย โดยวิธีการคิดภาษีที่เราต้องบวกเข้าไปก็ง่ายมากๆครับ ให้ใช้สูตรนี้เลย
ลองดูตัวอย่างกันนะครับ สมมติว่า ผมอยากได้ค่าจ้างรับทำเว็บไซต์ 50,000 บาท โดยผู้ว่าจ้างจะหักภาษีผม ณ ที่จ่าย 3% (คือหักภาษีแล้ว ผมต้องได้เงินมา 50,000 บาท) ผมก็เอาเงินนี้เข้าสูตรเลยครับ
[skill2]ค่าจ้างที่อยากได้ ก็คือ 50,0000
เปอร์เซ็นต์ที่หัก ก็คือ 3
ดังนั้น
(50,000 x 3) / (100 – 3) = 1546.391 บาท … นี่คือภาษีที่ให้เราบวกเข้าไปครับ ก็คิดแค่ทศนิยมสองตำแหน่งก็พอ นั่นก็คือ เวลาเราเขียนในใบเสนอราคาว่าค่าจ้างทั้งหมด ก็คือ 50,000+1,546.39 = 51,546.39 บาท นั่นเอง[/skill2]
เห็นไหมครับว่า การคิดยอดเงินทั้งหมดที่รวมกับภาษีที่ต้องถูกหักนั้นไม่ได้ยากเลยครับ ใช้เครื่องคิดเลขคิดแป็บเดียวก็เสร็จแล้ว
และอย่าลืมเด็ดขาดนะครับ เมื่อมีการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นั่นก็หมายความว่าผู้ว่าจ้างเค้าเอาเงินภาษีไปจ่ายแทนเราแล้ว ข้อมูลรายได้ของเราก็เข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว หน้าที่ของเราก็คือ ไปยื่นเรื่องเสียภาษีให้เรียบร้อย และเก็บใบสำคัญรับเงิน และหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ด้วย เวลาไปยื่นเสียภาษี เราจะได้อ้างอิงได้ว่าเราถูกหักภาษีส่วนนี้ไปแล้วนะ ไม่งั้นมีปัญหามาภายหลังแล้วจะยุ่งครับ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลายๆท่านทำใบเสนอราคา และ เข้าใจเรื่องภาษี ณ ที่จ่ายเพิ่มขึ้นบ้างนะครับ
แล้วเจอกันใหม่ค้าบ