เรื่องเงินๆ ของฟรีแลนซ์

ช่วงนี้กระแสคนมาทำงานเอง เป็นฟรีแลนซ์กำลังมามากครับ จริงๆผมก็ว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับที่คนกล้าที่จะลองมาทำอะไรเองดู แม้ในความจริงแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเหมาะกับการเป็นฟรีแลนซ์ แต่ละคนมีบุคลิกที่เหมาะกับงานไม่เหมอืนกัน แต่การได้ออกมาลองสัมผัสดู ก็จะทำให้เราได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้นว่า สุดท้ายแล้ว เราเหมาะกับงานประเภทไหน

เวลาเจอฟรีแลนซ์รุ่นน้อง (น้อง หมายถึง คนที่เพิ่งจะมาเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว ไม่ได้หมายถึงอายุน้อยกว่านะคับ) ผมจะให้คำแนะนำอยู่ว่า ก่อนที่จะมาทำฟรีแลนซ์ อยากให้มีเงินสำรองเลี้ยงชีพไว้สักก้อน กรณีงานทั่วไปก็มีอย่างน้อยคือจำนวนเงินที่คิดว่าต้องใช้จ่ายต่อเดือนคูณด้วยหก แต่ถ้างานฟรีแลนซ์ของเราผลตอบแทนสูงมากก็ สำรองไว้สักสามสี่เดือนก็ได้ครับ

ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่หนีไม่พ้นเรื่อง “เงิน” ครับ การหมุนเงินสำหรับฟรีแลนซ์เป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เราไม่มีเงินเดือนที่ชัดเจน บางทีมีเหตุปัจจัยที่ทำให้การได้รับเงินล่าช้า ถ้าเราไม่วางแผนดีๆ ชีวิตลำบากแน่ๆ

สเตตัทนี้ผมขอพูดถึงเรื่อง “เงิน” ละกันนะครับ

อย่างแรกที่พูดไปแล้วคือเงินสำรองเลี้ยงชีพ เก็บไว้เผื่อหางานไมได้ หรือเก็บตังค์ไม่ได้ จะได้ไม่อดตายครับผม

อย่างที่สอง เวลาดีลงานกับเอกชน และราชการ เขาจะมีนโยบายการจ่ายเงินที่ไม่เหมือนกันนะครับ เอกชน จะจ่ายง่ายกว่าราชการ เช่น ในกรณีของเอกชน เราสามารถวางบิลเก็บงวดแรกก่อนได้ แต่ราชการหลายครั้งที่ยอดไม่ได้เยอะมาก เขาจะให้เรารับทีเดียวเลย ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัญหาตามมาอีก สำหรับคนที่ไม่มีเงินสำรอง

งานเอกชน มักจะมี “รอบจ่ายเงิน” ครับ เช่น ทุกวันที่ 28 ของเดือน ดังนั้นวางแผนให้ดีๆ ว่าส่งงานทันเวลาไหม ถ้าเราพลาดไป เราต้องรออีกหนึ่งเดือนเลยนะครับ หรือถ้าในกรณีเขาจ่ายเป็นเชค ส่วนมากจะเอาเช็คไปขึ้นเงินให้เราประมาณวันศุกร์ เราก็จะได้รับตังค์ประมาณวันจันทร์ หรืออังคาร (ขึ้นอยู่กับว่าเขาไปขึ้นให้เราก่อนหรือหลังเที่ยง)

งานราชการ มักจะมี “รอบเครดิตรอจ่าย” เช่น สมมติว่าส่งงานวันนี้ ให้รอทำเรื่องเบิกจ่ายอีก 30 วัน ถึงจะได้ตังค์ อะไรประมาณนี้ ดังนั้นการทำงานกับราชการค่อนข้างจะมีจุดเสียโอกาสตรงนี้สูง เราสามารถเอาค่าเสียโอกาสตรงนี้มาเป็นหนึ่งในต้นทุนการทำงานของเราได้ครับ

งานราชการ จะมีการเรียกเก็บ “ภาษีอากรแสตมป์” ด้วยนะครับ พันละหนึ่งบาท เช่นรับโปรเจ็คเจ็ดหมืน ก็ต้องจ่ายอากรแสตมป์ 70000/1000 = 70 บาท เป็นต้น จ่ายเป็นอากรแสตมป์นะคับ ไม่ใช่เงินสด

เงินที่เราได้มา ส่วนใหญ่จะมีการหักภาษี ณ​ ที่จ่าย 3% ให้เราทำบัญชีให้ดีๆนะครับ ท้ายปีเราต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคลธรรมดา เอกสารต่างๆเก็บไว้ให้ดี อย่าทำหาย เก็บไว้เป็นปีต่อปีเลยคับ บางทีมีปัญหา มีการตรวจสอบย้อนหลัง เราจะได้มีหลักฐานไปชี้แจงคับ

ฟรีแลนซ์ไม่มีเงินเดือน เวลาทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ก็มีเงื่อนไขค่อนข้างเยอะครับ ข้อแนะนำในการวางแผนคือ ให้เรารู้จักหมุนเงินครับ เอาให้มันมีหมุนเวียนในบัญชี ธนาคารจะดูว่าเรามีเงินเข้าบัญชีต่อเนื่องไหม คือเข้าวันนี้ พรุ่งนี้ถอนออกก็ได้ ขอแค่ให้มีเงินเข้าออกแบบประจำ หรือบางทีการไปขอวีซ่าท่องเที่ยวบางประเทศ เขาก็จะดูตรงนี้ด้วยว่า มีเงินใช้จ่ายคล่องตัวมากน้อยแค่ไหน บางคนมองข้ามไป แล้วไปเอาเงินใส่ไว้ตู้มเดียว จากเงินในบัญชีมีสองพัน กลายเป็นสองแสนทันที บางที่เขาไม่อนุมัติคับ เขามองว่าเราไปเอาเงิน “จากไหนสักที่มาโปะตกแต่งบัญชี” ส่วนมากถ้ามีการตรวจสอบ Money Statement เขาจะดูย้อนหลังหกเดือนครับ

คนทำอาชีพฟรีแลนซ์มีข้อแนะนำอย่างอื่นที่เกียวข้องกับเงินๆทองๆ อยากเพิ่มเติมก็แนะนำได้นะครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก