ต้นทุนค่าเสียโอกาส เรื่องที่ไม่อยากให้ฟรีแลนซ์พลาด เวลารับงาน

ในยุคนี้เราจะเห็นคนรุ่นใหม่ หรือรุ่นเก่า ผันตัวมาทำงานเป็นฟรีแลนซ์กันมากขึ้นเลยนะครับ เพราะสายอาชีพที่มาทำงานแบบอิสระมันก็ยืดหยุ่นได้ในหลายๆเรื่อง ผมเองก็เป็นฟรีแลนซ์มานานมาก เมื่อก่อนบอกใครว่าทำงานแบบฟรีแลนซ์ก็จะพากันงง แต่เดี๋ยวนี้คนก็เข้าใจมากขึ้นว่างานพวกนี้มันเป็นอย่างไร เราก็ทำงานกันแบบคนอื่นๆนั่นแหละครับ แค่ไม่ได้สังกัดบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และทำงานที่ไหนก็ได้ตามที่เราสะดวกครับ ข้อดีก็อย่างที่บอกไปว่ามันยืดหยุ่น อยากพักก็พักได้ ทำงานตอนไหนก็ได้ แต่ต้องแลกมากับการต้องมีวินัยสุดๆ ไมว่าจะวินัยทางการงาน การเงิน เพราะไม่มีงานก็ไม่มีเงินเดือนนะครับ

ต้นทุนค่าเสียโอกาส เรื่องที่ไม่อยากให้ฟรีแลนซ์พลาด เวลารับงาน

ทีนี้ในฐานะที่มีประสบการณ์ด้านการรับงานออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ แบบฟรีแลนซ์มาเป็นสิบปี ผมก็อยากเล่าเรื่องราวที่สำคัญมากๆให้กับคนที่คิดจะเข้ามาสู่วงการฟรีแลนซ์ได้อ่านกันครับ นั่นก็คือเรื่องของ “ต้นทุนค่าเสียโอกาส”  เวลาเราดีลงานมาสักงานหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วเราต้องประเมินระยะเวลาใช่ไหมครับว่า จะใช้เวลาทำนานแค่ไหน แล้วเราก็คิดค่าบริการของเราเข้าไป ซึ่งมันจะมีบางเคสครับที่ เราส่งงานแล้ว แต่ “ไม่ได้เงินทันที” หรือบางงาน จะเกิดเคสที่ “ล่าช้า” กว่าแผนที่เรากำหนดไว้ ซึ่งแม้เค้าจะยอมจ่ายค่าเสียเวลาให้ แต่ จะจ่ายเป็นยอดรวมเมื่อปิดจ๊อบ

เคสส่วนใหญ่จะเกิดกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรใหญ่ๆ ครับ องค์กรใหญ่ๆสโคปงานใหญ่ๆ มักจะอุ้ยอ้าย ยิ่งคนตัดสินใจเยอะ ก็ยิ่งทำให้ Timeline ไม่แน่นอนครับ (จากประสบการณ์ส่วนตัว) ยกตัวอย่างเช่น หน่วยงานบางที่ เราส่งงานแล้ว แต่อาจจะได้เงินก็ตอนผ่านไป 30-120 วัน เลยครับ บางที่ให้เป็นเช็ค ที่ต้องออกทุกวันที่ 25 เป็นต้น ถ้าส่งงานวันที่ 26 ก็รอไปอีกเดือนนึงเพื่อรับเช็ค

ทีนี้ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ อย่างเคสแย่ๆ คือส่งงานแล้ว ผ่านไป 120 วัน ถึงจะได้เงิน เห็นอะไรบางอย่างไหมครับ?

Money Flow หรือกระแสเงินสด ที่มันไม่ลื่นไหลครับ ถ้าเรามีเงินสำรองไม่เพียงพอ และมีรายจ่ายประจำ การต้องรอ 120 วันที่กว่าจะได้เงินมาเนี่ย ลำบากนะครับ ปลายทางมีเงินก้อนแน่ๆ แต่ระหว่างทางอยู่ไม่ได้ อันนี้ก็ไม่เวิร์ค และเรื่องกระแสเงินสดที่มีปัญหาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลายคนไม่สามารถยังชีพได้ด้วยการเป็นฟรีแลนซ์ครับ

พอเราต้องรอนานๆแบบนี้ เราก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นครับ แทนที่ส่งงานแล้วจะได้เงินมาใช้จ่าย หรือลงทุน หรือทำอะไรกับมัน เราก็ต้องรออีกนาน

บริหารปัจจัยเสี่ยง

แล้วเราจะบริหารจัดการปัจจัยเสี่ยงนี้ได้อย่างไร?

ถ้าหากเป็นโปรเจ็คที่ต้องใช้เวลายืดเยื้อในการทำงาน ส่วนมากผมจะพยายามให้มีการจ่ายเงินเป็นช่วงๆครับ แบ่งงานออกเป็นเฟส แล้วก็รับเงินเมื่อเสร็จแต่ละเฟส เพื่อให้มีกระแสเงินสดมาใช้จ่ายระหว่างทาง หากหน่วยงานไหนจ่ายเงินได้ก้อนเดียว คือตอนเสร็จโปรเจ็คและมีติดเครดิต (เช่น รออีกสามสิบวัน) แบบนี้ผมก็จะบวกค่าเสียโอกาสไปด้วยเลยครับ คือชาร์จมากกว่าที่คิดเรทปกติ (ส่วนจะชาร์จเท่าไหร่ก็อยู่ที่เราแล้วครับ ที่คิดว่ามันเหมาะสม)

ปัญหาส่วนใหญ่ของฟรีแลนซ์คือหมุนเงินไม่ทัน

นอกจากนี้ คำแนะนำในการทำงานเป็นฟรีแลนซ์ก็คือ พยายามมีเงินสำรองไว้ให้เยอะพอเลี้ยงชีพได้ในกรณี “ไม่มีงาน ไม่มีเงินเข้า” อย่างน้อยเท่ากับเงินที่เราต้องใช้ 3-6 เดือนครับ เช่น ถ้าต้องใช้จ่ายเดือนละ 20,000 ก็ควรมีเงินเก็บอย่างน้อย 60,000-120,000 บาท (จริงๆมีหกเดือนเลยไปด้วยก็ยิ่งดีคับ)

ทำบัญชีการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับฟรีแลนซ์

สุดท้าย เวลาที่เราจะรับงานมา เราต้องคิดให้ถี่ถ้วนครับว่า มันจะมีโอกาสเกิดเคสที่แย่ที่สุดมากน้อยแค่ไหน แล้วประเมินความเสี่ยงที่เราจะรับได้ เอาความเสี่ยงตรงนั้นมาคิดเพิ่มในค่าบริการที่เราจะคิดด้วยเลยครับ อย่างที่เจอมา ถ้าเป็นหน่วยงานราชการ เรียกไปเลยครับ ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาแนวนี้ตลอดครับ

สู้ๆกันต่อไปครับ ฟรีแลนซ์ :)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก