อะแฮ่มๆ หลายคนคงจะงงนะครับว่า IA มันคืออะไร ไอเอ เป็นตัวย่อของ Information Architecture ครับ พูดเป็นภาษาไทยให้หรูๆดูดี ก็คือ “สถาปัตยกรรมข้อมูล” นั่นเอง ในการทำเว็บนั้น ถ้าจะทำเว็บให้ “ดี” มันมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะครับ เปรียบกับการสร้างบ้าน กว่าจะได้บ้านหลังหนึ่ง เราต้องคิดแล้วคิดอีกนะครับ ตั้งแต่การเลือกแบบบ้าน จะปลูกบ้านที่ไหน ใช้สไตล์แบบใด วางเสาเข็มวันไหน มีห้องอะไรบ้าง ใช้ใครออกแบบ ฯลฯ เว็บไซต์ก็เช่นเดียวกันครับ เราต้องวางแผนเยอะ คิดเยอะเหมือนกันครับ ไม่งั้นเดี๋ยวจะเป็นเหมือนเว็บไซต์หลายๆเว็บที่ “ยัดทุกอย่าง” รวมกัน หน้าแรกเต็มไปด้วยสาระพัดเรื่องราว จนแยกไม่ออกว่ามันเป็นเว้บไซต์อะไร ถ้าเปรียบกับบ้านเรือน ก็คงจะประมาณ เอาโถส้วมมาไว้ที่ห้องรับแขก ข้างๆโถส้วม มีหม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้าวางชิดโซฟา… ผมว่ามันคงทำให้แขกที่มาเยือนเราคงรู้สึก มะลึกกึกกึ๋ยส์ แน่ๆเลยครับ
วันนี้ผมเลยจะำนำเรื่องราวเกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับการ IA ที่เด่นๆ มาให้อ่านกันครับ … เอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนเนาะ
[thetext]1. ไม่มีโครงสร้าง !! [/thetext]
หง่ะ มันคือไรหว่า ฮ่าๆ จริงๆแล้วมันก็คือการทำเว็บไซต์ที่ไม่มีการวางโครงสร้างของเว็บนั่นเองนะครับ คิดจะทำอะไรก็ทำ ไม่มีการวางแผนว่าควรจะเขียนโครงสร้างข้อมูลอย่างไร ให้ ง่ายต่อการใช้ ถ้ายกตัวอย่างเกี่ยวกับเหตุการณ์รอบตัว ก็น่าจะเป็น ลักษณะการบริหารผังเมืองของ กทม อ่ะครับ มีรางรถไฟ ท่อน้ำ สายไฟ เสาไฟ ระโยงระยางเต็มไปหมด คิดอะไรก็ทำๆ โดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ครั้นต่อมา อยากจะสร้างอะไรเพิ่มก็ทำไม่ได้เพราะมีบางอย่างกีดขวาง (เช่น จะสร้างสะพานลอย ก็ไม่ได้เพราะชนกับรางรถไฟฟ้า เป็นต้น หรือพอมีปัญหาน้ำท่วม เดินไปก็ตกท่อ เพราะมีการวางท่อไม่เ็ป็นระบบ) ถ้าในแง่ของเว็บไซต์ ก็อารมณ์ทำให้ SEO เป้นไปได้ยาก เพราะผู้ใช้ต้อง “คลำ” หาวิธีใช้งานเอง เหมือนเล่นซ่อนหากับผู้ใช้งานยังไงยังงั้นแหล่ะ
[thetext]2. Search กับ โครงสร้างข้อมูล ไม่สอดคล้องกัน[/thetext]
แม้ว่าเว็บไซต์ของเราอาจจะได้รับการเยี่ยมชมจากผู้ที่ “ค้นหา” เพื่อมาเจอเว็บของเรา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสามารถตัด navigation ออกไปได้เลยนะครับ เพราะเราควรให้ผู้ใช้รู้ว่า ตอนนี้เขา “อยู่ที่ไหน” เขาสามารถ “ทำอะไร” ได้บ้าง และเขาจะ “ไป” ไหนต่อจากตรงนี้ได้
[thetext]3. ไม่มี Category Landing Page[/thetext]
เราแนะนำให้เว็บไซต์ของคุณควรจะมีหน้าแสดงเนื้อหาใน “หมวดหมู่” นั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่า หมวดหมู่นั้นๆมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง สมมติว่าผมต้องการดูข่าวหมวดหมู่ กีฬา พอคลิกหมวดหมู่นี้ ก็ควรมีการรวมข่าวกีฬาให้ผมได้อ่าน แล้วผมก็สามารถคลิกไปอ่านรายละเอียดข่าวแต่ละข่าวได้
[thetext]4. Polyhierachy ที่เยอะเวอร์ๆๆ[/thetext]
อั๊ยย่ะ! งงละสิกับคำว่า Polyhierachy ว่ามันคืออะไร พูดเป็นภาษาคนก็คือ “สังกัด” หลายหมวดหมู่เกินไปครับ ตัวอย่างที่พบเห็นได้ง่ายที่สุดก็คือ พวกเว็บขายของ ที่ชอบระบุสินค้าหนึ่งอย่างให้อยู่หลายหมวดหมู่ เช่น โซฟา นี้ก็อยู่ในหมวดหมู่ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก จนคนใช้เริ่มงง ว่าอีนี่ มันอยู่ที่ไหนกันแน่ เปิดไปหมวดไหนก็เจอ ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ข้อดีก็คือ โอเค ลูกค้าจะเห็นสินค้านี่บ่อย แต่ข้อเสีย ลูกค้าที่คิดมากก็อาจจะรู้สึกว่า กำลังถูกปั่นหัวอยู่ หรือกำลังถูกสับขาหลอกนั่นเอง จริงๆแล้ว ถ้ามันมีการสังกัดแค่ 1 อย่าง มันน่าจะดีกว่า เข้าใจง่ายกว่าใช่มะครับ เช่น จะดีกว่านะ ถ้าเขาพระวิหารมันอยุ่ในไทยหรือไม่ก็เขมรไปเลย แทนที่จะมาซ้อนทับไทยและเขมร (มันถึงได้เกิดปัญหาแบบทุกวันนี้ไง) พอมีความเหลื่อมล้ำเขตแดนกันปุ๊บ ความสับสนจะเกิดขึ้น และแน่นอนครับ ปัญหาก็จะตามมา แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องให้มัน สังกัดหลายอย่าง ก้พยายามทำอยางฉลาดครับ อย่ายัดให้เยอะเสียจนทำให้ category นั้นดูด้อยค่าแลดูไร้ความหมาย
[thetext]5. Subsite หรือ Microsite ไม่สอดคล้องกับเว็บไซต์หลัก[/thetext]
กรณีนี้เกิดขึ้นบ่อยมากครับ กับการทำเว็บไซต์เฉพาะขึ้นมาเพื่อโปรโมทสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้มีรถยนต์รุ่นใหม่ออกมา บริษัทก็ออกเว็บไซต์ที่เป็น subwebsite ที่เป็นเว็บเกี่ยวกับรถรุ่นนี้โดยเฉพาะ ซึ่งแม้ว่าต่อไปอนาคตจะมีรถรุ่นใหม่ออกมา แต่เว็บไซต์พวกนี้ก็ยังมีประโยชน์สำหรับคนที่ไม่ชอบตามกระแส ดังนั้นการเชื่อมต่อกันกับเว็บไซต์หลักจึงจำเป็นอย่างยิ่งครับ บางเว็บไซต์ย่อยนั้นไม่มีลิงค์กลับไปที่เว็บหลัก ทำให้ผู้ใช้ งง ว่า อ้าว แล้วชั้นจะไปไหนต่อได้ละทีนี้ ดังนั้นถ้าคุณจะทำ sub website จงอย่าลืมที่จะทำลิงค์ให้สอดคล้องกับเว็บไซต์หลักของคุณด้วยนะครับผม
[thetext]6. ไม่มี Navigation[/thetext]
สิ่งที่พบเห็นได้บ่อยเวอร์มาก ก็คือการไม่มี navigation ในเว็บไซต์นี่แหล่ะครับ แต่บางเว็บไซต์มีแต่กลับ “ไม่เด่นชัด” ทำให้ผู้ใช้งานกลับรู้สึกว่ามัน “ไม่มีอยู่จริง” ดังนั้นการทำ navigation ควรทำให้ชัดเจน สังเกตเห็นได้ง่ายครับ เพราะการออกแบบที่ไม่ดีก็ไม่ต่างอะไรจากการไม่มีให้เห็นครับผม
พยายามหลีกเลี่ยงการออกแบบที่ทำให้ดูเหมือนการทำ Banner มากไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานอาจจะมองข้าม เพราะนึกว่าเป็นโฆษณา
[thetext]7. ไม่สามารถควบคุม Navigation ได้[/thetext]
เกิดขึ้นได้ทั้งการออกแบบที่ครีเอทเกินเหตุและการออกแบบที่ไม่คิดอะไรเลย แทบไม่อยากจะเชื่อว่าบางเว็บไซต์ทำ navigation ให้เลื่อนไปเลื่อนมา ให้ผู้เล่นไล่จับ หรือมี popup โผล่มาบัง navigation ซะมิด จนคลิกไม่ได้!!
ถ้าหากต้องการทำเว็บไซต์โดยมีจุดประสงค์การใช้งานเป็นหลัก ควรทำให้ผู้ใช้เรียนรู้ได้ง่าย ให้เขาได้สนใจเฉพาะสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่ามานั่ง “เรียนรู้ระบบ UI ของเรา” แบบนี้มันไม่ตอบโจทย์ ฮ่าๆ
[thetext]8. Navigation ไม่คงเส้นคงวา[/thetext]
การมี Navigation มีไว้เพื่อ “ช่วยเหลือ” ผู้ใช้ ไม่ใช่ “เล่นเกมส์ประลองปัญญา” กับผู้ใช้ แหม บางเว็บไซต์เมนูหน้านี้อยู่ด้านบน พอคลิกไปอ่านอีกหน้า มาอยู่ด้านล่าง หน้าต่อไปอยู่ด้านซ้าย แบบนี้ก็ไม่ไหวจะเคลียร์ ผุ้ใช้สับสน บางทีก็คลิกได้ มีไฮไลท์ บางครั้งก็มีไฮไลท์แต่คลิกไม่ได้ เอ้า เจอบ่อยๆ คนใช้ก็จะเริ่มงงกับชีวิต ดังนั้นในฐานะคนออกแบบอย่างเราๆ อย่าพลาดกับเรื่องแบบนี้นะครับ
[thetext]9. โชว์เมพ ด้านเทคนิคใน Navigation มากเกินไป!![/thetext]
อันนี้คล้ายๆกับข้อ 8 ครับ ที่มีเทคนิคมากไป บางทีก็คลิกได้ บางทีก็คลิกไม่ได้ แบบนี้ไม่เวิร์คครับ อย่าพยายามใส่อะไรที่มากไปจนเกินความจำเป็น
[thetext]10. เมนูที่เข้าใจเองคนเดียว[/thetext]
อย่าสร้างเมนูที่เอาเองเออเอง นะครับ มันไม่ใช่ ถ้าหากคุณต้องการทำเว็บให้คนอื่นใช้ ก็ควรดูว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ผมยกตัวอย่างผมเอง งง มากตอนหัดเล่นเว็บพันทิป ผม งงว่า ห้องเฉลิมไทย คืออะไร สีลมคืออะไร (ตอนนั้นเป้นเด็กบ้านนอก ไม่รู้จักสถานที่ในเมืองหลวง) พยายามใช้ภาษาที่มันคอมมอนครับ คนอ่านเข้าใจง่าย เช่น จะดีกว่าไหมถ้าจะตั้ง Label ว่า Human แทนที่จะใช้ Homosapien sapien (ยกเว้นในกรณีที่คุณต้องการจะสื่อสารกับนักวิทยาศาสตร์)
[thetext] บทสรุป [/thetext]
สรุปแล้ว ข้อผิดพลาดก็ืคือการออกแบบที่ทำให้ผู้ใช้งานใช้ผิดพลาดไปนั่นเองแหล่ะครับ ดังนั้น พยายามคิดให้ดี วางแผนให้ถี่ถ้วน เพื่อจะให้ IA ของเรามีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดครับ